You are using an outdated browser. Please upgrade your browser to improve your experience.
เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2567 นายสันติ ไชยา ผู้อำนวยการศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวกำแพงเพชร มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ ติดตามการแพร่ระบาดแมลงศัตรูข้าว ในพื้นที่ตำบลแม่กลอง อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก จากการลงพื้นที่พบว่าเจอเพลี้ยกระโดด และแมลงบั่ว ในส่วนของจังหวัดกำแพงเพชร กลุ่มตะเคียนงาม อำเภอปางศิลาทอง พบ เพลี้ยกระโดดหลังขาว โรคหลอดหอม ต.เขาคีริส อ.พรานกระต่าย พบตอนนี้เพลี้ยหลังขาว แมลงบั่ว หลอดหอม เบื้องต้นได้ให้ความรู้ในการป้องกันกำจัดแก่เกษตรกรในพื้นที่แล้ว
ซึ่งในปัจจุบันเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เป็นแมลงศัตรูข้าวที่สำคัญอันดับหนึ่งของประเทศไทย การระบาดแมลงนี้ทำความเสียหายทั้งทางตรงและทางอ้อมให้กับต้นข้าว โดยทางตรงแมลงตัวแก่และตัวอ่อนจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากต้นข้าว เมื่อแมลงจำนวนมากดูดกินน้ำเลี้ยงต้นข้าวทำจะทำให้ข้าวแสดงอาการใบเหลืองแห้งมีลักษณะคล้ายถูกน้ำร้อนลวก เรียกว่าอาการ “ hopper burn” ถ้ารุนแรงมากจะทำให้ข้าวแห้งตายทั้งกอ แต่ถ้าไม่รุนแรงมากในระยะต่อมาจะปรากฏความเสียหายทางอ้อม โดยเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเป็นพาหะของโรคไวรัสข้าว คือ โรคใบหงิก (rice ragged stunt) หรือที่ชาวนาเรียกว่าว่า “ โรคจู๋” เมื่อข้าวเป็นโรคจู๋จะทำให้ข้าวมีอาการเตี้ยแคระแกรน และไม่ออกรวง ถึงแม้ออกรวง รวงจะหดสั้น ใบธงจะมีลักษณะบิดม้วนงอ และรวงลีบ
เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลวางไข่ที่บริเวณเส้นกลางใบหรือกลางกาบใบ ไข่จะวางเป็นกลุ่มเรียงกันเป็นแถวในลักษณะเป็นแนวตั้งฉากกับกาบใบ การวางไข่ทำให้กาบใบเป็นรอยช้ำสีน้ำตาล มองเห็นได้ชัด ระยะไข่ใช้เวลา 7 วันจะฟักเป็นตัวอ่อนและผ่านการลอกคราบ 5 ครั้ง เป็นเวลา 16 วันก็จะเป็นตัวเต็มวัย ตัวเต็มวัยเพศเมียมีชีวิตอยู่ได้ 15 วันเพศผู้ 13 วัน ตัวเมียวางไข่เฉลี่ย 48 ฟองต่อตัว การเพิ่มปริมาณของแมลงในนาข้าวจะมีปริมาณสูงสุดในชั่วอายุขัย (generation) ที่ 2-3 ถ้าสภาพแวดล้อมเหมาะสมปริมาณจะเพิ่มขึ้นตามอายุข้าวจากระยะกล้าถึงระยะออกรวง ระยะตั้งท้องและออกรวงมักเป็นระยะที่พบประชากรแมลงสูงที่สุด และอาการใบไหม้มักจะพบในระยะนี้
ข่าว/ภาพ นายวิทยา จตุรภาค สมาคมนักข่าวส่วนกลางและท้องถิ่นกำแพงเพชร
สนับสนุนข่าวโดย
แสดงความคิดเห็น