You are using an outdated browser. Please upgrade your browser to improve your experience.

กำแพงเพชร-ผู้ร่วมโครงการปลูกป่าแล้วตัดไม่ได้ หลายชีวิตต้องพัดพรากตายจาก ทั้งที่รอความหวัง ที่ตกไปสู่ลูกหลาน!!
อาชญากรรม

กำแพงเพชร-ผู้ร่วมโครงการปลูกป่าแล้วตัดไม่ได้ หลายชีวิตต้องพัดพรากตายจาก ทั้งที่รอความหวัง ที่ตกไปสู่ลูกหลาน!!


จากกรณีลุงบุญส่ง สนเสริม อายุ 86 ปี อยู่บ้านเลขที่ 141 หมู่ 16 ตำบลนาบ่อคำ อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร หนึ่งในผู้ร่วมโครงการปลูกป่าของกรมป่าไม้มา 30 กว่าปีแล้วยังไม่สามารถตัดได้ จนปัจจุบันมีความเดือดร้อนทั้งบ้านที่พักอาศัยก็จะพัง แถมยังต้องเลี้ยงดูลูกชายที่พิการเดินไม่ได้ ตามข่าวที่เสนอไปแล้วนั้น ผู้สื่อข่าวได้เดินทางไปยังบ้านเลขที่ 161 หมู่ 4 บ้านปางลับแล ตำบลสักงาม อำเภอคลองลาน จ.กำแพงเพชร ซึ่งเป็นบ้านของนายอุ่นและนางสวัสดิ์ จะนุช อีกครอบครัวหนึ่งที่เข้าร่วมโครงการปลูกป่า แต่ปัจจุบันทั้งสองได้เสียชีวิตลงแล้ว คงเหลือแต่บ้านร้างที่ปล่อยทิ้งไว้กับสวนสักที่มีลำต้นขนาดคนโอบยืนต้นอยู่ในแปลงที่ปลูกอีก3แปลง พื้นที่รวม 100 กว่าไร่


ได้สอบถามนางวิมล จะนุช อายุ 57 ปี บุตรสาวนายอุ่นและนางสวัสดิ์ ทางโทรศัพท์ว่า ปัจจุบันนี้ตนได้เดินทางมาอยู่กับลูกสาวที่ จังหวัดชลบุรี เนื่องจากตัวเองป่วยเป็นมะเร็งเข้าปีที่3 บ้านที่เคยอาศัยอยู่กับพ่อแม่ก็ต้องปล่อยให้รกร้าง เพราะบริเวณดังกล่าวไม่มีพื้นที่ ที่จะให้ตนเองทำมาหากินเหมือนกับคนอื่นที่สามารถปลูกอ้อย มันสำปะหลังหรือพืชไร่อื่นๆ พอเป็นรายได้เลี้ยงครอบครัว และที่สำคัญพื้นที่ที่มีอยู่พ่อและแม่ได้เข้าร่วมโครงการปลูกป่าและไม่สามารถตัดได้จนขณะนี้ ตนสงสารพ่อและแม่ที่รอความหวังและต่อสู้มาโดยตลอด โดยเฉพาะพ่ออุ่นที่เสียชีวิตด้วยเส้นเลือดในสมองแตกเมื่อ 10 กว่าปีก่อน ส่วนแม่สวัสดิ์ ก็ได้เสียชีวิตตามไปเมื่อปีที่แล้ว ทั้ง ครั้งแรกที่เข้าร่วมโครงการปลูกป่าเห็นว่าเป็นโครงการของภาครัฐสมัยนั้น ก็ดีใจว่าอนาคตคงจะมีรายได้จากการขายหรือใช้ประโยชน์จากไม้ที่ปลูก แต่ต่อมาพื้นที่ดังกล่าวได้ถูกประกาศยกเลิกตามที่ตกเป็นข่าว จึงทำให้ครอบครัวของตนและรวมไปถึงของชาวบ้านทั้งอำเภอคลองลาน อำเภอเมืองกำแพงเพชร ปางศิลาทองและใกล้เคียงจำนวนไม่น้อย ต้องตกอยู่ในภาวะจำยอม วันนี้เริ่มเห็นข่าวของลุงบุญส่ง ก็นึกสงสารแต่ก็ยังอดที่จะสงสารตนเองและครอบครัวอีกหลายหลายคนที่ต่างรอความหวังไม่แตกต่างกัน ซึ่ง เชื่อว่าทุกคนอยากจะให้ตัดต้นสักได้เพราะ ประการแรกคือ จะมีรายได้จากการปลูกที่รอมา 30 กว่าปี ประการต่อมาคือ จะได้มีพื้นที่ทำกินเพื่อหารายได้ปลูกถั่ว ปลูกมัน และไม่ต้องลำบากที่จะต้องออกมารับจ้างทำงานนอกพื้นที่ ที่เคยอาศัยมาแต่ครั้งรุ่นพ่อแม่ น้องชายของตนเองคือนายมงคล จะนุชก็เป็นอีกคนหนึ่ง ที่รับมรดกป่าที่ปลูกมาจากพ่อ แต่ก็ต้องออกมารับจ้างขับรถเพื่อหาเงินเลี้ยงลูกที่กำลังเรียน บางวันมีงานบางวันไม่มีงานก็ไม่มีรายได้เช่นกัน จึงอยากให้ทางการได้ ลงมาดูแลให้ความช่วยเหลืออย่างเงียบหายไปเหมือนอย่างที่ผ่านมา


ด้านนายเรืองเดช ร่วมชัยภูมิ หนึ่งในแกนนำของผู้ร่วมโครงการปลูกป่า ที่อ.คลองลาน จ.กำแพงเพชร ได้เสนอแนะวิธีง่ายๆว่า หน่วยงาน ออป.(องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้) เป็นรัฐวิสาหกิจขึ้นตรงต่อกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเช่นเดียวกันกับกรมป่าไม้ เป็นหน่วยงานทำไม้มีโรงงานแปรรูป ไม้ ผลิตเฟอร์นิเจอร์ จำหน่ายและเป็นหน่วยงานเดียวที่สามารถทำไม้สักส่งไปต่างประเทศได้ มีสวนป่าเป็นของตนเอง ซึ่งความเดือดร้อนของประชาชนที่เข้าร่วมตามโครงการส่งเสริมเกษตรกรปลูกป่าแล้วตัดไม้ไม่ได้ เป็นเพราะหน่อยงานของรัฐยกเลิก สทก.(สิทธิที่ทำกิน) พร้อม ใบตอบรับการสอบสวนสิทธิ์ (ของ สปก.) และไม่ต่อสัญญาให้กับ นิคมสหกรณ์ ทั้งนี้ ในระเบียบกรมป่าไม้ พ.ศ.2537 บอกไว้ชัดเจนว่าที่ดินประเภทใดบ้างที่สามารถเข้าร่วมโครงการฯได้ มีขั้นตอนการปฏิบัติชัดเจนกว่าจะได้รับเงินสนับสนุนและปลูกดูแลบำรุงรักษายาวนาน5ปี และมีการติดตามผลงานตลอดเวลาของเจ้าหน้าที่ โดยเฉพาะพื้นที่เข้าร่วมโครงการนั้น กรมป่าไม้ได้มาตรวจสอบทุกแปลง มีภาพถ่ายทางอากาศบ่งบอกว่าอยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 3/4/5 ทุกแปลงทุกราย และในพื้นที่ก็รับการแก้ไขปัญหา ตามมติ ครม. 30 มิถุนายน2541 มาแล้วในพื้นที่นั้นๆ ปัจจุบันราษฎรไม่สามารถนำไม้มาทำประโยชน์ได้ การแก้ไขปัญหานี้เพื่อหาทางออกก็ไม่น่าจะสลับซับซ้อนขนาดนี้ ถ้าเชิญหน่วยงาน ออป. (องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้)มาร่วมให้คำปรึกษาแก้ไขปัญหา ออป.มีอุปกรณ์ เครื่องมือ ตัดได้ แปรรูปไม้ได้ทำเฟอร์นิเจอร์และส่งไม้ออกต่างประเทศได้ ทำไมไม่ให้ ออป. มารับซื้อไม้จากราษฎรผู้ที่มีเอกสาร แบบ ส.ก.3 ทุกราย เงินรายได้ก็หมุนเวียนภายในประเทศ ราษฎรก็ได้รับประโยชน์ไปด้วย หากจะเอกสารที่ถูกต้องก็ไม่ทราบว่าวันเวลาที่แน่นอน

ข่าว/ภาพนายวิทยา จตุรภาค  สมาคมนักข่าวส่วนกลางและท้องถิ่นกำแพงเพชร

สนับสนุนข่าวโดย


4


8

12







คุณสามารถแบ่งปันเนื้อหานี้!

แสดงความคิดเห็น