You are using an outdated browser. Please upgrade your browser to improve your experience.
เมื่อวันที่ 22 ก.ค. 64 เวลา 13.00น. บริเวณวิหารเปิดโลก วัดทุ่งสามัคคีธรรม (ทุ่งตาพุก)หมู่ที่ 4 ต.อ่างทอง อ.เมือง จ.กำแพงเพชร พ.ต.อ.วัชรเกียรติ ศิริวิมลฤทธิ์ ผกก.สภ.เมืองกำแพงเพชร,พ.ต.ท.นิคสัน แสนเตปิน รอง ผกก.ป.สภ.เมืองกำแพงเพชร,พ.ต.ท.นพคุณ อนันตวงศ์ สวป.สภ.เมืองกำแพงเพชร พร้อม นายก อบต.,ผู้ใหญ่บ้าน,ผู้นำชุมชน และแกนนำ ให้การต้อนรับ พ.ต.อ.ชยินธร สุคนธร รอง ผบก.ภ.จว.กำแพงเพชร พร้อมคณะผู้ตรวจประเมินโครงการคัดเลือกชุดปฏิบัติการตำรวจชุมชนสัมพันธ์ดีเด่น ปีงบประมาณ 2564 ได้มาตรวจประเมินผลการปฏิบัติงานของชุดตำรวจชุมชนสัมพันธ์ สภ.เมืองกำแพงเพชร ณ บ้านดงมะนาว(ทุ่งตาพุก)ม.4 ต.อ่างทอง อ.เมือง จว.กำแพงเพชร ในโครงการชุมชนเข้มแข็ง โดยทั้งนี้ได้ตรวจประเมินและให้ข้อแนะนำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินของชุดตำรวจชุมชนสัมพันธ์ สภ.เมืองกำแพงเพชร ซึ่งภาพรวมในการจัดทำโครงการของชุดปฏิบัติงานของตำรวจชุมชนสัมพันธ์ สภ.เมืองกำแพงเพชร ถือว่าเป็นไปตามเกณฑ์ที่ดี
ทั้งนี้ พ.ต.อ.ชยินธร สุคนธร รอง ผบก.ภ.จว.กำแพงเพชร พร้อมคณะผู้ตรวจประเมินโครงการได้เข้าเยี่ยมชม โคก หนอง นาโมเดล ที่ ร.ต.ต.เอพยัญ กีตา รอง สวป.สภ.เมืองกำแพงเพชร ได้จัดทำไว้บริเวณทุ่งนาท้ายหมู่บ้านทุ่งตาพุก โดยมีเนื้อที่กว่า 10 ไร่ซึ่งเป็นที่นาตัวเองจัดเป็นศูนย์เรียนรู้ ทฤษฎี “โคก หนอง นา”ให้ชาวบ้านในชุมชนนำไปต่อยอดในการดำรงชีพตามปรัชญา”เศรษฐกิจพอเพียง”ของในหลวงรัชกาลที่ 9 โดยในวันนี้ ร.ต.ต.เอพยัญ กีตา ได้อธิบายในเรื่องของการดำเนินงานให้กับพ.ต.อ.ชยินธร สุคนธร รอง ผบก.ภ.จว.กำแพงเพชร และคณะได้รับฟัง คือจะเห็นได้ว่าทำไมชาวนาทุกวันนี้ปลูกข้าว แต่ทำไมจึงซื้อข้าวกิน ผลก็คือชาวนาปลูกข้าวแต่ไม่เคยที่จะนำข้าวที่ได้ไปสีกินเองซึ่งบางครั้งข้าวที่เราปลูกและสีกินเองนั้นอาจจะปลอดภัยจากสารพิษมากกว่าข้าวที่ซื้อมาด้วยซ้ำไป
ที่นี่ถือเป็นแหล่งที่ประชาชนน่าจะมาเรียนรู้ตนยินดีให้บริการประชาชนที่สนใจที่จะเรียนรู้ ทฤษฎี “โคก หนอง นา”เพื่อให้ชาวบ้านทั่วไปหรือในชุมชนนำไปต่อยอดในการดำรงชีพตามปรัชญา”เศรษฐกิจพอเพียง”โดยสามารถติดต่อไปยังกลุ่มงานตำรวจตำรวจชุดชุมชนและมวลชนสัมพันธ์ สภ.เมืองกำแพงเพชร ได้ตลอดเวลา” อย่างไรก็ตามสำหรับโคก-หนอง-นา โมเดล นั้นก็คือ การจัดการพื้นที่ซึ่งเหมาะกับพื้นที่การเกษตร ซึ่งเป็นผสมผสานเกษตรทฤษฎีใหม่ เข้ากับภูมิปัญญาพื้นบ้านที่อยู่อย่างสอดคล้องกับธรรมชาติในพื้นที่นั้นๆ โคก-หนอง-นา โมเดล เป็นการที่ให้ธรรมชาติจัดการตัวมันเองโดยมี มนุษย์เป็นส่วนส่งเสริมให้มันสำเร็จเร็วขึ้น อย่างเป็นระบบนั่นเอง
ข่าว/ภาพ นายวิทยา จตุรภาค สมาคมนักข่าวส่วนกลางและท้องถิ่นกำแพงเพชร
สนับสนุนข่าวโดย
แสดงความคิดเห็น