You are using an outdated browser. Please upgrade your browser to improve your experience.
เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2564 เวลา 13.00 น. ผู้สื่อข่าวเดินทางไปยังบ้านเลขที่ 182 หมู่ 1 ต.แสนตอ อ.ขาณุวรลักษบุรี จ.กำแพงเพชร ซึ่งเป็นบ้านของนายสุเมธ บัวสำลี อายุ 68 ปี ข้าราชการบำนาญ อดีตครูโรงเรียนขาณุวิทยา ซึ่งเกษียนอายุราชการมากว่า 8 ปีแล้วหลังจากจากเกษียนอายุราชการมาได้ประมาณ 3 ปีจึงได้คิดหันมาทำนาข้าว เพื่ออยากจะทำเป็นตัวอย่างให้ชุมชนในเรื่องการทำนาที่ไม่สร้างมลพิษโดยไม่เผาฟางและรักษาสิ่งแวดล้อมที่ดีในชุมชน โดยเอาที่นาจำนวน 20 ไร่ซึ่งอยู่ในพื้นที่บ้านดอนขวาง หมู่ 7 ต.เกาะตาล อ.ขาณุฯ จ.กำแพงเพชร มาทำนาข้าวซึ่งเป็นพันธุ์”ทับทิมชุมแพ” หรือ กข.69 พร้อมกับมาปักหลักปลูกบ้านหลังเล็กๆโดยใช้ชีวิตอยู่อย่างสงบ 2 คนตายายบริเวณที่นา ปลูกผัก เลี้ยงปลาในสระน้ำที่มีอยู่ มีผลผลิตที่ได้ซึ่งเป็นข้าวพันธุ์”ทับทิมชุมแพ”ก็นำมาแพ็คใส่ถุงละ 5 กิโลกรัมขับรถตระเวณขายไปตามสถานที่ต่างๆ พร้อมกับให้คำแนะนำในการหุง และบอกคุณประโยชน์ของข้าวพันธุ์ดังกล่าว ชาวบ้าน หรือร้านค้าที่ทราบข่าวก็จะพากันสั้งซื้อทางโทรศัพท์ หรือทางเฟสบุ๊ค โดยใช้ชื่อตราสัญลักษณ์ว่า”ข้าวบัวสำลี”เมื่อมีการสั่งซื้อก็จะจัดของขึ้นรถไปส่งให้ถึงที่โดยส่วนมากเป็นชาวบ้าน และร้านค้าในพื้นที่ อ.ขาณุวรลักษบุรี ซึ่งในแต่ละวันจะมีลูกค้าสั่งซื้อกันเป็นจำนวนครั้งละหลายๆถุงซึ่งด้วยความที่ นายสุเมธ เคยรับราชการครูอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวจึงมีคนรู้จักมักคุ้นเป็นอย่างดี
สำหรับการทำนาข้าวพันธุ์”ทับทิมชุมแพ”ที่นายสุดมธจะให้ความสำคัญเป็นพิเศษเลยก็คือการรักษาภาวะสิ่งแวดล้อม ปลอดจากมลพิษในการที่จะไม่เผาฟางข้าวถือว่าน่าจะเป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่ชุมชนโดยสิ่งแรกหลังจากเสร็จจากการทำนาแต่ละครั้งจะไม่มีการเผาฟางข้าว เมื่อจะทำนาก็จะใช้วิธีสูบน้ำเข้านาโดยอาจจะใส่น้ำหมักชีวภาพทิ้งไว้ประมาณ 7 วันแล้วทำการไถกลบเพื่อที่จะเพิ่มอินทรีย์สารให้กับกินนั่นเอง จากนั้นใช่น้ำหมักอีกสูตรในการไล่แมลง โดยไม่ต้องใช้สารเคมี ทั้งนี้ใครที่อยากจะทำนาข้าวลักษณะนี้ และใช้พันธุ์ข้าวดังกล่าวสามารถมาติดต่อสอบถาม เพื่อจะได้ให้คำแนะนำได้ที่ โทร. โทร.081-9625133 หรือที่เฟสบุ๊ค”สุเมธ บัวสำลี”
ซึ่งข้าวพันธุ์”ทับทิมชุมแพ”เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่อยากให้เกษตรกรหันมาปลูกกันเนื่องจากข้าวชนิดนี้มีคุณค่าทางโภชนาการสูง โดยประโยชน์ข้าวทับทิมชุมแพ มีปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระฟีนอลิกสูง และฟลาโวนอยด์สูง ซึ่งสูงกว่าข้าวพันธุ์สังข์หยดพัทลุง (ปริมาณฟีโนลิก 4,661.05มิลลกรัมต่อ100กรัม และปริมาณฟลาโวนอยด์ 2,989.21 มิลลกรัมต่อ100กรัม) โดยสารต้านอนุมูลอิสระทั้งสองมีส่วนช่วยลดระดับคลอเลสเตอรอลในกระแสเลือด ช่วยให้เม็ดเลือดไม่จับตัวเป็นก้อนจนอุดตัน ป้องกันการเกิดมะเร็ง อีกทั้งยังมีปริมาณอมิโลสต่ำ เหมาะกับผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน อีกด้วย
ข่าว/ภาพ นายวิทยา จตุรภาค สมาคมนักข่าวส่วนกลางและท้องถิ่นกำแพงเพชร
สนับสนุนข่าวโดย
แสดงความคิดเห็น